การร่วมมือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีมานานเท่ากับประวัติอารยะธรรมของมนุษย์ ประมาณ 3,000 ปี ก่อนคริสตกาลปรากฏว่ามีสมาคมของพวกช่างฝีมือ และแกะสลักของชาวอียิปต์โบราณ เมื่อถึงคริสตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในทวีปยุโรป ก่อให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ มีพวกหนึ่งหาทางแก้ปัญหาโดย วิธีสหกรณ์มีผู้นำทางโดยวิธีสหกรณ์ เกิดขึ้นหลายคนเช่น ในอังกฤษมีโรเบอรต์ โอเว่น ริเริ่มวิธีการสหกรณ์ เมื่อ ค.ศ.1820 (หรือ พ.ศ.2363 ตรงกับรัชกาลที่ 2) นายแพทย์วิลเลี่ยม คิง แนะให้ตั้งร้านสหกรณ์เมื่อ ค.ศ.1827 (หรือ พ.ศ.2370 ต้นรัชกาลที่ 3) ในฝรั่งเศส ชาร์ล ฟูริเอร์ เสนอให้จัดตั้งนิคม “ฟาลังช์” หลุยส์ บลังก์ เสนอให้รัฐบาลตั้งโรงงานสังคมเมื่อ ค.ศ.1848 (หรือ พ.ศ.2391 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 3) ในฝรั่งเศส ฟิลลิปป์ บูเชซ์ เสนอแนวคิด ตั้งสหกรณ์เครดิตจัดหาทุนให้ สมาชิกกู้ไปทำประโยชน์ ในประเทศเยอรมันนี เฮอร์มั่น ชุลซ์-เดลิทช์ ตั้งสหกรณ์เครดิตหรือธนาคารประชาชน เมื่อ ค.ศ.1850 (ตรงกับ พ.ศ.2397 ในสมัยรัชกาลที่ 3) ฟรีดริช วิลเลม ไร้ฟ์ฟายเซ่นจัดตั้งสหกรณ์เครดิตในค.ศ.1854 (ตรงกับ พ.ศ2397 ในสมัยรัชกาลที่ 4)
ต้นกำเนิดของขบวนการสหกรณ์
ก็คือ สหกรณ์รอชเดล ในประเทศอังกฤษ ที่ก่อตั้งโดย ช่างทอผ้า 28 คน และมีมติว่า วันที่ สิงหาคม คศ.1844 ตรงกับ พศ.2387 ในรัชการที่ 3) เป็นวันก่อตั้งสหกรณ์ หลักสหกรณ์รอชเดล เป็นรากฐานของหลักสหกรณ์ในปัจจุบันนี้ในประเทศไทย พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงเผยแพร่ความรู้และทรงบัญญัติคำว่า “สหกรณ์” กับทรงรับเป็นนายทะเบียนสหกรณ์พระองค์ แรกคือ ” สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้” เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 ที่ตำบลวัดจันทร์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก มีสมาชิกเริ่มแรก 16 คน จึงถือว่าวันที่ 26 กุมภาพันธ์ เป็นวันสหกรณ์แห่งชาติ และมีเสด็จในกรมประองค์นั้น ทรงเป็นบิดาแห่งสหกรณ์ไทย สหกรณ์ออมทรัพยสมาคมแรกในประเทศไทยชื่อ “สหกรณ์ข้าราชการสหกรณ์ จำกัดสินใช้” จดทะเบียนเมื่อ 28 กันยายน 2492
ในปีเดียวกันแต่ระยะเวลาก่อนหน้านี้ได้มีการจัดตั้งสถาบันฝึกหัดครูแห่งใหม่ขึ้น ชื่อว่า “โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ณ ถนนประสานมิตร” สถาบันแห่งนี้ได้เป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษาในปี 2497 หัวหน้าผู้บริหารมีตำแหน่งเป็น “อธิการ” และมีสำนักงานอธิการดำเนินงานทางด้านธุรกิจโดยมีหัวหน้าเป็นตำแหน่ง “หัวหน้าสำนักงานอธิการ” ในปี 2509 อาจารย์สุภรณ์ ศรีพหล ได้เป็นหัวหน้าสำนักงานสืบต่อจากอาจารย์ สมบูรณ์ แสงวิเชียร สภาพของบุคลากรในสมัยนั้นมีความสนิทสนมเหมือนในครอบครัวเดียวกันอาจจะเรียกได้ว่าเป็นครอบครัววิทยาลัย วิชาการศึกษาอาจารย์ สุภรณ์ จึงชักชวนอาจารย์ที่สังกัดสำนักงานอธิการเป็นส่วนใหญ่กับอาจารย์ในคณะอื่นๆ ที่ชอบพอกัน ตั้งสวัสดิการขึ้นท่านเล่าว่า ได้ความคิดมา จากการอ่านหนังสือ ในนิตยสาร-ไทม์หลังจากเผยแพร่ความคิดประกอบกับความเชื่อถือในตัวท่าน จึงสามารถรวบรวมสมาชิกได้ 65 คน (ตามที่ปรากฏในทะเบียนสมาชิก “สวัสดิการอาจารย์”) ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
เมื่อปลายปี 2510 จำไม่ได้ว่าเดือนอะไร อาจารย์สุภรณ์ก็นัดสมาชิกไปรับเงินปันผล ที่สโมสรอาจารย์ขณะนั้น คือห้อง 333 ป (อยู่ชั้น 3 ตึก 3 ปัจจุบันเป็นห้องเรียนปริญญาเอก ของภาค วิชาเทคโนโลยีทางการศึกษา) โดยจัดเวลาบ่ายหลังเลิกงาน อาจารย์สงุ่น เป็นหัวเบี้ยช่วย อยู่ด้วยท่านคิดดอกเบี้ยเงินกู้ ร้อยละ 1 ต่อเดือนเท่าเงินให้กู้ ท่านพูดว่า “เราไม่คิดค่าดำเนินงาน” จากจุดเริ่มต้นในเดือนกรกฎาคม 2509 มาจดทะเบียนเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ เมื่อ 2 มกราคม 2511 ประมาณเดือนเมษายน 2511 อาจารย์สุภรณ์ ไปเรียนปริญญาเอกที่ อเมริกา การดำเนินงานก็ค่อยเป็นค่อยไป จนมีอุปสรรคขึ้น ในที่สุดอาจารย์สมควร อภัยพันธุ์ ก็เข้ามาเป็นเหรัญญิก เชิญอาจารย์ละม้ายมาศ มาเป็นสมาชิก และได้รับเลือกเป็นประธานกรรมการรวมทั้งกรรมการอื่นๆอีกหลายท่านอาจารย์ดาราภาคสุชน ซึ่งเป็นสมาชิกและมีความรู้ทางด้านบัญชี มาช่วยทำบัญชี ต่างช่วยกันกู้สถานะสหกรณ์ไว้ได้ ถัดจากนั้นสหกรณ์ค่อยเจริญมาเป็นลำดับ จนถึปัจจุบัน ทั้งนี้ก็จากการริเริ่มของอาจารย์สุภรณ์ การสานต่อของ อาจารย์ละม้ายมาศ อาจารย์สมควร และกรรมการอื่นๆรวมทั้งความร่วมมือของสมาชิกถ้าเปรียบเทียบเป็นครอบครัว อาจารย์สุภรณ์ก็เป็นพ่ออาจารย์ละม้านมาศ็เป็นแม่อาจารย์สมควรเป็นพี่คนโตมีกรรมการอื่นๆและสมาชิกทั้งที่ได้กล่าวนามและมิได้กล่าวนามเป็นน้องเป็นลูกลดหลั่นกันลงไป ช่วยกันจรรโลงกิจการให้ ช่วยเหลือกันเองในครอบครัวได้ ผู้ดำเนินงานต่อมาประคับประคองให้ก้าวหน้า สามารถขยายความช่วยเหลือไปยังครอบครัวอื่นๆ ได้ด้วย จนสามารถสร้าง อาคารเป็นสำนักงานเอกเทศได้ เมื่อปลายปี 2532
หนังสือประกอบการเขียน
- ณรงค์ เส็งประชา การสหกรณ์ เทพพิทักษ์ 2527 , 231 หน้า
- ธำรงค์ อุดมไพจิตรกุล การสหกรณ์ มศว วิทยาเขตมหาสารคาม 2527 , 231 หน้า (อัดสำเนา)
- ถวิล เลิศประเสริฐ วิสาหกิจสหกรณ์ สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย 2528 , 293 หน้า
- บุญสม ก้านสังวร 26 ก.ย. 2533
จิ๋ว บางทีก็ แจ๋ว
การออมทรัพย์ทำได้หลายวิธี วิธีหนึ่งที่นิยมกันโดยทั่วไป ทั้งในอดีตและปัจจุบันได้แก่ “การเล่นแชร์” ซึ่งมีทั้งในองค์การช องรัฐ และเอกชน ประสานมิตร ในสมัยโน้น ก็นิยมตั้งวงแชร์เหมือนกัน ทั้งๆ ที่ระเบียบทางราชการยังคงใช้อยู่ คือห้ามข้าราชการ “เล่นแชร์” แต่ก็ยังมีอยู่จนได้
เข้าใจว่าเดี๋ยวนี้ก็ยังคงมีอยู่ พอจวนจะสิ้นเดือน หรือวันสิ้นเดือน ผู้ที่เป็นเจ้ามือแชร์ทั้งหลายก็เดินเร่ให้สมาชิกเปียแชร์
วันเงินเดือนออก ก็เก็บเงินส่งผู้ที่ประมูลได้ เหตุการณ์ดังกล่าวว่ากันจริงๆ แล้วไม่น่าดูนัก ในวงการอาจารย์ในสมัยที่ข้าพเจ้าทำหน้า
ที่เป็นเจ้าหน้าที่สำนักงานอธิการ (สมัยนั้นไม่มีคำ “บดี”) รู้สึกไม่สบายใจนัก
จึงได้ชักชวนเพื่อนร่วมงาน ในสำนักงานรวมทั้งห้องสมุดด้วยรวบรวมได้ประมาณ 25 คน ก็จัดตั้งชมรมออมทรัพย์ขึ้น ดำเนินการแบบออมทรัพย์เก็บค่าหุ้นคนละ 1 หุ้น เป็นจำนวน 100 บาท เดือนแรกก็ให้กู้ยืมได้ รายเดียว ต่อมาข่าวก็กระจายออกไป ผู้ที่เห็นคุณประโยชน์ก็มาร่วมด้วย จำนวนสมาชิกจึงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่มากนักถ้าหากเทียบกับจำนวนอาจารย์ เจ้าหน้าที่ทั้งหมดที่มีอยู่ก็ไม่พอที่จะก่อตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นทางการ ได้สอบถามเจ้าหน้าที่ กรมส่งเสริมสหกรณ์ฯ เขาก็บอกว่าเราต้องมีสมาชิกสัก 100 คน จึงค่อยจดทะเบียน ถ้ายังไม่ถึงก็ทดลองทำ ไปก่อนไม่ว่ากระไร ชมรมออมทรัพย์ ก็ดำเนินเรื่อยมา ด้วยความร่วมมือกับสมาชิก ทำอยู่ได้ปีเศษๆ ก็มีเงินทุนแสนกว่าๆ ในปี 2511 ผมได้มีโอกาสไปศึกษาต่อ จึงได้มีการจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์อย่างเป็นทางการ ระยะนั้นยังมีสมาชิกไม่ถึง 100 คน จำได้ว่าประมาณ 90 คนกว่าๆ จากนั้นเป็นต้นมาสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ ก็ได้ดำเนินงานเต็มรูปแบบ ทางราชการเรื่อยมา ในระยะราว 3 ปี ทราบว่า สหกรณ์ได้ฟันฝ่าอุปสรรคมาก พอสมควร บางครั้งเกือบไปไม่รอด ได้ทราบจากเจ้าหน้าที่กรมส่งเสริมว่า จวนเจียนจะถูกยุบเอา แต่โชคยังดี อยู่ที่ ศาสตราจารย์ละม้ายมาศ ศรทัตต์ รองอธิการในขณะนั้นได้ เข้ามากู้สถนกาณ์ ปรับปรุงดำเนินงานจนกระทั่งแข็งแกร่งขึ้นเป็นลำดับ
ในระยะอันตรายนั้น สมาชิกเริ่มหมดศรัทธาลาออกไปเรื่อยๆ เมื่อข้าพเจ้ากลับมา เหตุการเรียบร้อย แล้ว แต่ก็ได้ยินกรรมการบางคนบ่น เรื่องต้องตระเวน เก็บเงินค่าหุ้น (ใช้วิธีทวงเก็บเป็นรายคน) ซึ่งเป็นที่น่าเบื่อหน่ายต่อกรรมการเป็นอย่างยิ่ง ต่อมาได้ช่วยกันหา วิธีแลกเช็คโอนเงินเข้าบัญชีสหกรณ์ฯ ดังที่ปฏิบัติอยู่ในปัจจุบัน เป็นธรรมดาของสหกรณ์ออมทรัพย์ที่เริ่มต้นด้วยสมาชิกทุนจำกัด ไม่ได้รับการสนับสนุนทางอื่นเลย สมาชิกต้องช่วยตัวเองกว่าจะตั้งตัวได้ก็เป็นเวลา 4-5 ปี
จากความเสียสละ และอดทนของสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ก็ดำเนินงานด้วยดีตลอดมา พวกเราทราบดีว่า วิทยาลัยมีเงินตาย ฝากธนาคารเอาดอกเบี้ย สมัยนั้นเพียง 7% ท่านผู้บริหารก็ยังไม่กล้านำเงินมาฝากสหกรณ์ฯ เพราะว่ายังไม่มั่นคง ต่อเมื่อมั่นคงแล้วท่านจึงจะฝาก ตรงกันข้ามกับบางแห่งที่เขาต้องรีบฝาก เพื่อสหกรณ์จะได้ตั้งตัวได้เร็วๆ แต่ก็ไม่เป็นไร สมาชิก(พวกเรา) ก็ทนทำจนได้เงินทุน “ล้านกว่า” กิจการของสหกรณ์ฯ
จึงมีผู้เห็นประโยชน์มากขึ้น และในปัจจุบันก็ได้แสดงให้ประจักษ์ ในคุณค่าของสหกรณ์ออมทรัพย์ พวกเราทำกันด้วยน้ำใจ และจิตใจของนักสหกรณ์