ระเบียบว่าด้วยเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน
สมาชิกที่ประสงค์จะเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน ให้กู้ได้ไม่เกินร้อยละเก้าสิบของทุนเรือนหุ้นที่สมาชิกมีอยู่ในสหกรณ์ แต่สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท
สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกู้ฉุกเฉิน
ประเภท | เป็นสมาชิก (เดือน) | จำนวนเท่า (เงินเดือน) | เงินกู้สูงสุด (บาท) | ส่งชำระ (เดือน) |
---|---|---|---|---|
ฉุกเฉิน | 1-23 | – | 500,000 | 10 |
24-59 | – | 500,000 | 20 | |
60 ขึ้นไป | – | 500,000 | 30 | |
มีผลตั้งแต่ วันที่ 2 มกราคม 2562 เป็นต้นไป หมายเหตุ ตามหนังสือของกรมส่งเสริมสหกรณ์ ที่แจ้งให้กำหนดงวดส่งชำระคืนเงินกู้ฉุกเฉิน ไม่เกิน 12 งวด |
ระเบียบว่าด้วยเงินกู้สามัญ
เงินกู้สามัญ จำกัดวงเงินกู้ 2,000,000 บาท โดยมีเงื่อนไขตามอายุการเป็นสมาชิก และกำหนดเวลาการส่งชำระคืน ดังนี้
สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกู้สามัญ
ประเภท | เป็นสมาชิก (เดือน) |
จำนวนเท่า (เงินเดือน) |
ผู้ค้ำประกัน (คน) |
เงินกู้สูงสุด (บาท) |
ส่งชำระ (เดือน) |
---|---|---|---|---|---|
สามัญ | 12 – 23 | 5 | 2 | 100,000 | 30 |
24 – 35 | 10 | 2 | 300,000 | 60 | |
36 – 59 | 25 | 2 | 500,000 | 100 | |
60 – 119 | 40 | 3 | 1,000,000 | 150 | |
120 – 179 | 50 | 4 | 1,500,000 | 180 | |
180 ขึ้นไป | 60 | 4 | 2,000,000 | 180 |
เป็นหลักประกัน
ถ้าใช้ทุนเรือนหุ้นหรือเงินฝากเป็นหลักประกัน จะกู้ได้ไม่เกิน 90% ของทุนเรือนหุ้นและหรือเงินฝากที่มีอยู่ |
ให้สมาชิกค้ำประกัน อย่างน้อย 2 คน ต้องพิจารณาเงินเดือนและอายุการเป็นสมาชิก ของผู้ค้ำประกันด้วยว่า ครอบคลุมเงินที่จะขอกู้ และงวดการส่งชำระหรือไม่ |
ผู้กู้ต้องชำระหนี้ให้หมดก่อนผู้กู้มีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่มีจำนวนเงินกู้ไม่เกินมูลค่าหุ้นและมีเงินฝากจำนำ เปลี่ยนแปลงเงินเดือนคงเหลือของสมาชิกในการกู้เงินทุกประเภทจากสหกรณ์ จำนวนเงินกู้ที่จะกู้ได้นั้น เมื่อหักชำระหนี้ สหกรณ์ทุกประเภท, เงินสะสมค่าหุ้น และเงินอื่นๆ ที่ต้องส่งต่อสหกรณ์และทางราชการแล้ว ต้องมีเงินเดือนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของเงินเดือน แต่ต้องไม่น้อยกว่า 1,000 บาท และหรือตามประกาศของสหกรณ์ที่คณะกรรมการดำเนินการกำหนด |
ระเบียบว่าด้วยเงินกู้พิเศษ
เงินกู้พิเศษ จำกัดวงเงินกู้สูงสุด 5,000,000 บาท แยกเป็น 4 ชนิด มีวัตถุประสงค์ ดังนี้
เพื่อการเคหสงเคราะห์ | |
เพื่อก่อสร้างอาคารหรือซื้อที่ดินพร้อมอาคารเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง | เพื่อต่อเติมหรือปรับปรุงอาคารซึ่งเป็นกรรมสิทธฺ์ของตนเอง |
เพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคารซึ่งเป็นกรรมสิทธฺ์ของตนเอง | เพื่อซื้อที่ดิน ที่จะก่อสร้างอาคารในระยะเวลาอันสมควร ทั้งนี้เพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง |
เพื่อซื้อหรือให้ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นของตนเอง | |
เพื่อยานพาหนะ ได้แก่เงินกู้เพื่อซื้อหรือแลกเปลี่ยนยานพาหนะ เพื่อเป็นกรรมสิทธิ์ของตนเอง |
|
เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ กู้ในการลงทุนประกอบธุรกิจ ทั้งนี้ต้องอยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการดำเนินการ |
|
เพื่อการศึกษา ได้แก่ | |
สำหรับสมาชิก เพื่อการศึกษาต่อ ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติ การวิจัย ระดับอุดมศึกษาทั้ง ในประเทศ และต่างประเทศ | เพื่อการศึกษาของบุตรสมาชิกในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าทั้งในประเทศ และต่างประเทศ |
ระเบียบว่าด้วยเงินกู้พิเศษเพื่อข้าราชการบำนาญโอนหรือย้าย
สมาชิกที่เป็นข้าราชการบำนาญ และรับเงินบำนาญผ่านบัญชีเงินฝากในสหกรณ์ หรือสหกรณ์ สามารถหักเงินบำนาญได้ จะกู้ได้ 80 เท่าของเงินบำนาญ แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท สมาชิกที่ไม่ใช่ข้าราชการบำนาญตามวรรคแรก จะกู้ได้เพียง ร้อยละ 90 ของทุนเรือนหุ้น ที่ตนเองมีอยู่ในสหกรณ์
สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับเงินกู้พิเศษ
ประเภท | เป็นสมาชิก (เดือน) |
จำนวนเท่า (เงินเดือน) |
เงินกู้สูงสุด (บาท) |
ส่งชำระ (เดือน) |
---|---|---|---|---|
พิเศษ | 3-35 | 80 | 3,000,000 | (300) 25 |
36-59 | 90 | 4,000,000 | (360) 30 | |
60 ขึ้นไป | 100 | 5,000,000 | (360) 30 | |
ข้าราชการบำนาญ | 80 | 2,000,000 | (180) 15 |
หลักประกัน
ถ้าใช้ทุนเรือนหุ้นหรือเงินฝากเป็นหลักประกัน จะกู้ได้ไม่เกิน 90% ของทุนเรือนหุ้นและหรือเงินฝากที่มีอยู่ | อสังหาริมทรัพย์ |
ผู้กู้ต้องส่งชำระหนี้ให้หมดภายในอายุ 70 ปี ยกเว้นข้าราชการบำนาญ ทั้งนี้สมาชิกที่ประสงค์จะกู้เงินและส่งชำระหนี้ตามระยะเวลาที่กำหนดนี้ ต้องส่งคำขอกู้เงินในขณะที่มีอายุไม่เกิน 55 ปีบริบูรณ์ |